1. สถานที่จอง
1.1 สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ เลขที่ 905 ถ.นวมินทร์ ซอย 10 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1.2 สำนักงานขาย / ศูนย์ขาย / สำนักงานเคหะจังหวัด
1.3 จองผ่าน online ผ่าน http://house.nha.co.th
1.2 สำนักงานขาย / ศูนย์ขาย / สำนักงานเคหะจังหวัด
1.3 จองผ่าน online ผ่าน http://house.nha.co.th
2. ขั้นตอนการจอง
2.1 จองผ่านเคาน์เตอร์ขาย
• เลือกโครงการ / แบบบ้านที่สนใจ
• วางเงินจอง 3,000 บาท / 5,000 บาท
• รับสัญญาจอง / สัญญาจะซื้อจะขาย
2.2 จองผ่านออนไลน์
• เข้าเว็บไซต์จองออนไลน์ http://house.nha.co.th
• ค้นหาโครงการที่สนใจ พิมพ์ชื่อโครงการหรือทำเลที่ตั้ง
• เลือกโครงการ บ้านว่าง กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและยืนยันการจอง
• พิมพ์เอกสารการจอง หรือแสดงบาร์โค้ดจากหน้าจอ Smart Phone หรือบัตรประจำตัวประชาชนในการยื่นชำระค่าจองบ้าน
• ชำระค่าจองบ้านได้ที่ สำนักงานเคหะจังหวัด หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่งทั่วประเทศ
• ติดต่อทำสัญญา ณ สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ หรือสำนักงานเคหะจังหวัด ทุกแห่งทั่วประเทศ
• เลือกโครงการ / แบบบ้านที่สนใจ
• วางเงินจอง 3,000 บาท / 5,000 บาท
• รับสัญญาจอง / สัญญาจะซื้อจะขาย
2.2 จองผ่านออนไลน์
• เข้าเว็บไซต์จองออนไลน์ http://house.nha.co.th
• ค้นหาโครงการที่สนใจ พิมพ์ชื่อโครงการหรือทำเลที่ตั้ง
• เลือกโครงการ บ้านว่าง กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและยืนยันการจอง
• พิมพ์เอกสารการจอง หรือแสดงบาร์โค้ดจากหน้าจอ Smart Phone หรือบัตรประจำตัวประชาชนในการยื่นชำระค่าจองบ้าน
• ชำระค่าจองบ้านได้ที่ สำนักงานเคหะจังหวัด หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่งทั่วประเทศ
• ติดต่อทำสัญญา ณ สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ หรือสำนักงานเคหะจังหวัด ทุกแห่งทั่วประเทศ
คุณสมบัติของผู้จองบ้านการเคหะแห่งชาติ
• มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ
• รายได้ครอบครัวไม่เกิน 40,000 บาท / เดือน (โครงการเชิงสังคม)
• ไม่จำกัดรายได้ (โครงการเชิงพาณิชย์)
• ไม่ติด Black List หรือไม่ติดเครดิตบูโรกับสถาบันการเงิน
เอกสารการจองบ้านของการเคหะแห่งชาติ
• บัตรประจำตัวประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• สำเนาทะเบียนสมรส และเอกสารคู่สมรส (ถ้ามี)
1. คู่ฉบับสัญญาจองห้องชุด / ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง)
2. สำเนาบัตรประชาชน / บัตรข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้กู้ จำนวน 3 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านให้ถ่ายทุกหน้าที่มีชื่อจนถึงหน้าว่าง จำนวน 2 ชุด
4. สำเนา ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล จำนวน 1 ชุด
เอกสารแสดงรายได้ ตามกรณี ดังนี้
กรณีประกอบอาชีพประจำ
5. หนังสือรับรองเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน (ฉบับจริง) จำนวน 1 ชุด
4. สำเนา ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล จำนวน 1 ชุด
เอกสารแสดงรายได้ ตามกรณี ดังนี้
กรณีประกอบอาชีพประจำ
5. หนังสือรับรองเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน (ฉบับจริง) จำนวน 1 ชุด
6. สลิปเงินเดือน 6 เดือนล่าสุด หรือ หลักฐานการส่งเงินกับประกันสังคมย้อนหลัง 1 ปี (กรณีไม่มีสลิปเงินเดือน) จำนวน 1 ชุด
7. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ Statement (ธนาคารเซ็นรับรอง) ย้อนหลัง 6 เดือน จำนวน 1 ชุด
7. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ Statement (ธนาคารเซ็นรับรอง) ย้อนหลัง 6 เดือน จำนวน 1 ชุด
กรณีประกอบอาชีพอิสระ
8. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ Statement (ธนาคารเซ็นรับรอง) ย้อนหลัง 1 ปี จำนวน 1 ชุด
9. รูปถ่ายสถานที่ประกอบกิจการ โดยมีผู้กู้ถ่ายกับสถานที่ประกอบกิจการด้วย 5 รูป ไม่ซ้ำกัน / แผนที่ตั้งกิจการ จำนวน 1 ชุด
9. รูปถ่ายสถานที่ประกอบกิจการ โดยมีผู้กู้ถ่ายกับสถานที่ประกอบกิจการด้วย 5 รูป ไม่ซ้ำกัน / แผนที่ตั้งกิจการ จำนวน 1 ชุด
10. สำเนาทะเบียนการค้า / สำเนาทะเบียนพาณิชย์ / สำเนาสัญญาเช่าที่ประกอบการห้างหุ้นส่วน จำนวน 1 ชุด
11. สำเนาหลักฐานการเสียภาษี (ภงด.50ทวิ) / ภาษีโรงเรือน หรืองบการเงินปีล่าสุด จำนวน 1 ชุด
12. ใบเสร็จซื้อ – ขายสินค้า 6 เดือน / บัญชีรายรับรายจ่าย ย้อนหลัง 1 ปี / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ จำนวน 1 ชุด
11. สำเนาหลักฐานการเสียภาษี (ภงด.50ทวิ) / ภาษีโรงเรือน หรืองบการเงินปีล่าสุด จำนวน 1 ชุด
12. ใบเสร็จซื้อ – ขายสินค้า 6 เดือน / บัญชีรายรับรายจ่าย ย้อนหลัง 1 ปี / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ จำนวน 1 ชุด
เอกสารคู่สมรส
13. สำเนาทะเบียนสมรส / สำเนาทะเบียนหย่า / สำเนาใบมรณบัตรคู่สมรส จำนวน 1 ชุด
14. สำเนาบัตรประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส จำนวน 1 ชุด
กรณีสมรสไม่จดทะเบียน (แยกทางกัน)
15. ใบแจ้งความกรณีสมรสไม่จดทะเบียนมีบุตรด้วยกันแต่ปัจจุบันแยกทางกัน จำนวน 1 ชุด
*** กรณีอายุเกิน 45 ปี หรือ ไม่แน่ใจว่ารายได้เพียงพอผ่อนชำระได้ ให้หาผู้กู้ร่วม ซึ่งเป็น คู่สมรส บิดา มารดา บุตร หรือพี่ – น้อง (พ่อแม่เดียวกัน) มากู้ร่วม โดยนำเอกสารของผู้กู้ร่วมตามรายละเอียดข้างต้นมาด้วย
กรณีประกอบอาชีพอิสระหรือทำงานมีเงินเดือนแต่ทางหน่วยงานไม่ออกหนังสือรับรองรายได้ ลูกค้าสามารถขอแบบฟอร์มหนังสือรับรองรายได้จากการเคหะฯ เพื่อใช้ประกอบในการจองและใช้ประกอบในการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
ลูกค้าที่ไม่ผ่านการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบกับงาน Call Center 1615 ได้ว่าโครงการที่ลูกค้าสนใจสามารถทำเช่าซื้อกับการเคหะฯ ได้หรือไม่ นอกจากเช่าซื้อโดยตรงแล้วยังมีโครงการเช่าเพื่อซื้อ (Rent to buy) สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่พร้อมซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สามารถเปลี่ยนรูปแบบจากการซื้อเป็นการเช่า โดยมีกรอบระยะเวลาการเช่า 3 ปี และให้ต่อสัญญาคราวละ 1 ปี เมื่อลูกค้าแจ้งความประสงค์ซื้อภายใน 3 ปีแรก การเคหะฯ จะโอนค่าเช่าบางส่วนไปเป็นเงินจอง (เฉพาะโครงการที่เข้าร่วม)
• การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเมือง
• ราคาไม่แพง สามารถผ่อนเงินดาวน์ได้
• ในโครงการแต่ละโครงการนั้นจะมีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบ เนื่องด้วยการประสานกับหน่วยรัฐต่อรัฐ
• ดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต เช่น การอบรมชาวชุมชน ให้สามารถพึงพาตนเองได้ นำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ให้ช่วยกันรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการฝึกอาชีพ รวมถึงกิจกรรมกีฬา เพื่อความสามัคคีให้ชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด
ปรับบัญชีเงินฝากธนาคารให้สมดุล
รายรับรายจ่าย คืออีกหนึ่งปัจจัยหลักที่มีผลกับการพิจารณาขอสินเชื่อโดยตรง ดังนั้นการเตรียมบัญชีเงินฝากธนาคารให้พร้อมอย่างน้อย 6 เดือน ก็จะช่วยทำให้มีโอกาสในการขอสินเชื่อผ่านมากขึ้น ซึ่งการเตรียมบัญชีฯ นั้นไม่ใช่เพียงการนำเงินเข้าบัญชีฯเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่หมายถึงการควบคุมรายรับรายจ่ายของลูกค้าให้สมดุลกัน เพื่อแสดงให้ธนาคารทราบว่าลูกค้ามีศักยภาพมากพอที่จะชำระหนี้ได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการใช้เงินของลูกค้าให้พร้อมสำหรับในอีกหลายปีข้างหน้า ที่จะต้องผ่อนชำระในระยะยาว ควรอัพเดทสมุดบัญชีฯ ทุกเดือน เพราะธนาคารจะขอดูความเคลื่อนไหวและรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนย้อนหลังนาน 6 เดือน จะได้ไม่ต้องไปขอรายการเคลื่อนไหวในบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือนที่ธนาคาร เพราะธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการขอย้อนหลัง
ผ่อนหนี้ให้ตรง เคลียร์หนี้เก่า
หากเคยมียอดหนี้เก่าที่รอการชำระ หรือกำลังผ่อนชำระหนี้ก้อนหนึ่งอยู่ การผ่อนชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด ถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ธนาคารจะนำมาพิจารณาในการอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้าน เพราะการมีวินัยในการผ่อนชำระจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าว่าจะสามารถผ่อนชำระเงินกู้ที่ธนาคารอนุมัติได้ตรงตามกำหนด และหากมียอดหนี้เก่าที่เป็นจำนวนเงินไม่เยอะมากนัก ให้รีบปิดหนี้ให้หมดเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อรวมให้ภาระหนี้สินของลูกค้ามีน้อยที่สุด โดยเฉพาะคนที่ค้างจ่ายหนี้ไปนานจนมีรายละเอียดบอกไว้ในเครดิตบูโร หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ติดแบล็คลิสต์ หากมีการชำระหนี้ไปเสียแต่เนิ่น ๆ ยอดหนี้ของลูกค้าจะถูกปรับออก ทำให้มีโอกาสขอกู้ผ่านมากขึ้น
เก็บเงินสำรอง
ในการซื้อบ้านมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้ลูกค้าต้องเสียรายจ่ายอยู่บ่อย ๆ การเก็บออมเงินเอาไว้สักก้อนเพื่อใช้เป็นค่าดำเนินการ ก็จะทำให้อุ่นใจมากกว่า เพราะรายละเอียดค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มตั้งแต่ เงินดาวน์บ้าน,ค่าประเมิน, ค่าดำเนินการ, ค่าประกันภัย, ค่าจดจำนอง และค่าโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น หากไม่วางแผนเก็บเงินก้อนหนึ่งไว้สำรองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะทำให้ติดขัดถึงขั้นพลาดบ้านหลังที่ใช่ของลูกค้าไปเลยก็ได้ สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวกู้ซื้อบ้านสักหลัง เมื่อทราบวิธีการเตรียมตัวข้อมูลคร่าว ๆ กันไปแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนให้รอบคอบและลองทำตามวิธีการเหล่านี้ดู และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้การกู้ซื้อบ้านของลูกค้ามีโอกาสผ่านมากขึ้น
รายรับรายจ่าย คืออีกหนึ่งปัจจัยหลักที่มีผลกับการพิจารณาขอสินเชื่อโดยตรง ดังนั้นการเตรียมบัญชีเงินฝากธนาคารให้พร้อมอย่างน้อย 6 เดือน ก็จะช่วยทำให้มีโอกาสในการขอสินเชื่อผ่านมากขึ้น ซึ่งการเตรียมบัญชีฯ นั้นไม่ใช่เพียงการนำเงินเข้าบัญชีฯเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่หมายถึงการควบคุมรายรับรายจ่ายของลูกค้าให้สมดุลกัน เพื่อแสดงให้ธนาคารทราบว่าลูกค้ามีศักยภาพมากพอที่จะชำระหนี้ได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการใช้เงินของลูกค้าให้พร้อมสำหรับในอีกหลายปีข้างหน้า ที่จะต้องผ่อนชำระในระยะยาว ควรอัพเดทสมุดบัญชีฯ ทุกเดือน เพราะธนาคารจะขอดูความเคลื่อนไหวและรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนย้อนหลังนาน 6 เดือน จะได้ไม่ต้องไปขอรายการเคลื่อนไหวในบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือนที่ธนาคาร เพราะธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการขอย้อนหลัง
ผ่อนหนี้ให้ตรง เคลียร์หนี้เก่า
หากเคยมียอดหนี้เก่าที่รอการชำระ หรือกำลังผ่อนชำระหนี้ก้อนหนึ่งอยู่ การผ่อนชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด ถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ธนาคารจะนำมาพิจารณาในการอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้าน เพราะการมีวินัยในการผ่อนชำระจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าว่าจะสามารถผ่อนชำระเงินกู้ที่ธนาคารอนุมัติได้ตรงตามกำหนด และหากมียอดหนี้เก่าที่เป็นจำนวนเงินไม่เยอะมากนัก ให้รีบปิดหนี้ให้หมดเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อรวมให้ภาระหนี้สินของลูกค้ามีน้อยที่สุด โดยเฉพาะคนที่ค้างจ่ายหนี้ไปนานจนมีรายละเอียดบอกไว้ในเครดิตบูโร หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ติดแบล็คลิสต์ หากมีการชำระหนี้ไปเสียแต่เนิ่น ๆ ยอดหนี้ของลูกค้าจะถูกปรับออก ทำให้มีโอกาสขอกู้ผ่านมากขึ้น
เก็บเงินสำรอง
ในการซื้อบ้านมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้ลูกค้าต้องเสียรายจ่ายอยู่บ่อย ๆ การเก็บออมเงินเอาไว้สักก้อนเพื่อใช้เป็นค่าดำเนินการ ก็จะทำให้อุ่นใจมากกว่า เพราะรายละเอียดค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มตั้งแต่ เงินดาวน์บ้าน,ค่าประเมิน, ค่าดำเนินการ, ค่าประกันภัย, ค่าจดจำนอง และค่าโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น หากไม่วางแผนเก็บเงินก้อนหนึ่งไว้สำรองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะทำให้ติดขัดถึงขั้นพลาดบ้านหลังที่ใช่ของลูกค้าไปเลยก็ได้ สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวกู้ซื้อบ้านสักหลัง เมื่อทราบวิธีการเตรียมตัวข้อมูลคร่าว ๆ กันไปแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนให้รอบคอบและลองทำตามวิธีการเหล่านี้ดู และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้การกู้ซื้อบ้านของลูกค้ามีโอกาสผ่านมากขึ้น
1. ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์รับเงินส่วนกลาง ณ สำนักงานใหญ่ / สำนักงานเคหะจังหวัด ทั่วประเทศ ในวันและเวลาทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.00 น.
2. ชำระเงินโดยการเขียนคำร้องยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากธนาคารของลูกค้าประเภทออมทรัพย์ / สะสมทรัพย์ ตามแบบฟอร์ม กคช.กค.20 โดยใช้ธนาคาร / สาขาเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย 8 ธนาคาร ได้แก่
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 5.- บาท
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 10.- บาท
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อัตราค่าธรรมเนียม 10.- บาท
หมายเหตุ : อัตราค่าธรรมเนียมอาจเปลี่ยนแปลงตามที่ธนาคารกำหนด
3. ชำระเงินผ่านตัวแทนรับชำระตามใบแจ้งหนี้ ที่การเคหะแห่งชาติจัดส่งให้เป็นรายเดือน ดังนี้
หมายเหตุ : อัตราค่าธรรมเนียมอาจเปลี่ยนแปลงตามที่ธนาคารกำหนด
3. ชำระเงินผ่านตัวแทนรับชำระตามใบแจ้งหนี้ ที่การเคหะแห่งชาติจัดส่งให้เป็นรายเดือน ดังนี้
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- เทสโก้ โลตัส อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อัตราค่าบริการ 15.- บาท
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อัตราค่าบริการ 15.- บาท
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) อัตราค่าบริการ 15.- บาท
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- บจก. ไปรษณีย์ไทย อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- บจก. ทรูมันนี่ อัตราค่าบริการ 15.- บาท
- บจก. บิ๊กซี ซูเปอร์เซนเตอร์ อัตราค่าบริการ 10.- บาท
- บจก. ห้างเซ็นทรัล ดีพาทเม้นสโตร์ อัตราค่าบริการ 10.- บาท
4. ชำระเงินโดยสแกน QR Code บนใบแจ้งหนี้ที่การเคหะแห่งชาติ จัดส่งให้เป็นรายเดือน
หมายเหตุ – กรณีที่ 2 - 4 ต้องชำระเงินภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน ยกเว้น
: บจก. ไปรษณีย์ไทย สามารถชำระเงินได้ทุกวัน ในเวลาทำการ
: บ.เคาน์เตอร์เซอร์วิส สามารถชำระเงินได้ทุกวัน ตลอด 24 ชม.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ หรือ สำนักงานเคหะจังหวัดที่ดูแลโครงการทั่วประเทศ หรือ CALL Center โทร. 1615
*** สามารถดาวน์โหลดใบแจ้งนี้ โดยสมัครใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://eservice.nha.co.th หรือ Application NHA Service
เอกสารในการยื่นคำร้องขอรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
• สัญญาคู่ฉบับของการเคหะแห่งชาติ (สำเนา) และสัญญาเงินกู้ของธนาคาร (สำเนา)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ของตนเองและคู่สมรสและผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 3 ชุด
• สำเนาทะเบียนบ้าน ของตนเองและคู่สมรส และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 ชุด
• สำเนาทะเบียนบ้านทุกคนในบ้านจนถึงหน้าว่าง 1 ชุด ของผู้กู้และคู่สมรส (กรณีอยู่คนละทะเบียนบ้าน) และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี)
• สำเนาทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 3 ชุด
• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล จำนวน 3 ชุด
• หนังสือยินยอมคู่สมรส จำนวน 2 ชุด กรณีสมรสไม่จดทะเบียน (ติดต่อขอรับแบบฟอร์มได้ที่ สำนักงานเคหะจังหวัดในโครงการ)
• คำร้องขอรับโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด (เพื่อความสะดวกรวดเร็ว โปรดกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน)
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้การเคหะแห่งชาติ (ชำระในวันยื่นคำร้องขอรับโอนฯ ) เพื่อการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด
• ค่าใช้จ่ายเจ้าของร่วม กำหนดเก็บล่วงหน้า 3 เดือน
- ขนาด 33 ตรม. 250.- บาท / ห้อง / เดือน เป็นเงิน 750.- บาท
• เงินกองทุน กำหนด 3 เท่า ของค่าใช้จ่ายร่วม
- ขนาด 33 ตรม. เป็นเงิน 750.- บาท
• ค่าประกันอัคคีภัย (1 ปี) เป็นเงิน 280.- บาท
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้สำนักงานที่ดิน (ชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์)
• ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2.00 % ของราคาประเมิน
- ขนาด 33 ตรม. (โดยประมาณ) เป็นเงิน 9,000.- บาท
• ค่าธรรมเนียมจดจำนองกู้ธนาคาร 1.00 % ของตามสัญญาเงินกู้ กรณีจ่ายเงินสดไม่ต้องชำระ
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้ธนาคาร (ชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์)
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญาจำนองรายละ 800.- บาท / ครั้ง
• ค่าประกันอัคคีภัย ขนาด 33 ตรม. เป็นเงินประมาณ 1,100.- บาท / 3 ปี
หมายเหตุ ห้องชุดที่ยังไม่ครบสัญญาค้ำประกัน 5 ปี แต่ประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ ขอให้ลูกค้าติดต่อธนาคารเพื่อปิดบัญชีเงินกู้ก่อนยื่นคำร้องขอรับโอนกรรมสิทธิ์
• สัญญาคู่ฉบับของการเคหะแห่งชาติ (สำเนา) และสัญญาเงินกู้ของธนาคาร (สำเนา)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ของตนเองและคู่สมรสและผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 3 ชุด
• สำเนาทะเบียนบ้าน ของตนเองและคู่สมรส และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 ชุด
• สำเนาทะเบียนบ้านทุกคนในบ้านจนถึงหน้าว่าง 1 ชุด ของผู้กู้และคู่สมรส (กรณีอยู่คนละทะเบียนบ้าน) และผู้กู้ร่วม (ถ้ามี)
• สำเนาทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 3 ชุด
• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล จำนวน 3 ชุด
• หนังสือยินยอมคู่สมรส จำนวน 2 ชุด กรณีสมรสไม่จดทะเบียน (ติดต่อขอรับแบบฟอร์มได้ที่ สำนักงานเคหะจังหวัดในโครงการ)
• คำร้องขอรับโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด (เพื่อความสะดวกรวดเร็ว โปรดกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน)
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้การเคหะแห่งชาติ (ชำระในวันยื่นคำร้องขอรับโอนฯ ) เพื่อการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด
• ค่าใช้จ่ายเจ้าของร่วม กำหนดเก็บล่วงหน้า 3 เดือน
- ขนาด 33 ตรม. 250.- บาท / ห้อง / เดือน เป็นเงิน 750.- บาท
• เงินกองทุน กำหนด 3 เท่า ของค่าใช้จ่ายร่วม
- ขนาด 33 ตรม. เป็นเงิน 750.- บาท
• ค่าประกันอัคคีภัย (1 ปี) เป็นเงิน 280.- บาท
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้สำนักงานที่ดิน (ชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์)
• ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2.00 % ของราคาประเมิน
- ขนาด 33 ตรม. (โดยประมาณ) เป็นเงิน 9,000.- บาท
• ค่าธรรมเนียมจดจำนองกู้ธนาคาร 1.00 % ของตามสัญญาเงินกู้ กรณีจ่ายเงินสดไม่ต้องชำระ
ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้ธนาคาร (ชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์)
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญาจำนองรายละ 800.- บาท / ครั้ง
• ค่าประกันอัคคีภัย ขนาด 33 ตรม. เป็นเงินประมาณ 1,100.- บาท / 3 ปี
หมายเหตุ ห้องชุดที่ยังไม่ครบสัญญาค้ำประกัน 5 ปี แต่ประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ ขอให้ลูกค้าติดต่อธนาคารเพื่อปิดบัญชีเงินกู้ก่อนยื่นคำร้องขอรับโอนกรรมสิทธิ์
ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะวัยทำงานนิยมอาศัยอยู่ในอาคารชุดมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางสะดวกสบาย และอาคารชุดมีราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบ้านจัดสรร ดังนั้นผู้ซื้อควรทำความเข้าใจ การอยู่อาศัยเกี่ยวกับกฎหมายอาคารชุด (พรบ.อาคารชุด) ที่มีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งจะมีทรัพย์ส่วนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทรัพย์ส่วนกลาง หมายถึง ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินแปลงที่ปลูกสร้างอาคารชุด ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สวนพักผ่อนร่วม ลานจอดรถยนต์ร่วมโครงสร้างและสิ่งก่อสร้าง เพื่อความมั่นคงและป้องกันความเสียหายต่ออาคารชุด เช่น รากฐาน เสาเข็ม หลังคา ฝาผนังด้านนอกโดยรอบ บ่อหน่วงน้ำ อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ ที่มีไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ระเบียงที่มีไว้ใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และเครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เครื่องดับเพลิงส่วนรวม
ดังนั้นค่าส่วนกลางที่เก็บมาจากเจ้าของร่วมก็เพื่อจะนำมาดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางเพื่อให้ชุมชนของเราอยู่กันอย่างมีความสุขและปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการส่วนรวม เช่น ค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัย ค่าจ้างดูแลรักษาความสะอาด ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เช่น เงินเดือนของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดค่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ในสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น
ทรัพย์ส่วนกลาง หมายถึง ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินแปลงที่ปลูกสร้างอาคารชุด ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สวนพักผ่อนร่วม ลานจอดรถยนต์ร่วมโครงสร้างและสิ่งก่อสร้าง เพื่อความมั่นคงและป้องกันความเสียหายต่ออาคารชุด เช่น รากฐาน เสาเข็ม หลังคา ฝาผนังด้านนอกโดยรอบ บ่อหน่วงน้ำ อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ ที่มีไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ระเบียงที่มีไว้ใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และเครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เครื่องดับเพลิงส่วนรวม
ดังนั้นค่าส่วนกลางที่เก็บมาจากเจ้าของร่วมก็เพื่อจะนำมาดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางเพื่อให้ชุมชนของเราอยู่กันอย่างมีความสุขและปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการส่วนรวม เช่น ค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัย ค่าจ้างดูแลรักษาความสะอาด ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เช่น เงินเดือนของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดค่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ในสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น
นอกจากค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารชุดที่จะต้องชำระให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อนำมาบริหารเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อความสุข สงบ สะอาดฯ แล้ว การอยู่อาศัยของคนจำนวนมากก็ต้องมีความเกรงใจ และเคารพปฏิบัติตามกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน ดังนี้
• ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ฯลฯ เข้าไปเลี้ยงไว้ในห้องชุด สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ ส่งเสียงดังรบกวนการอยู่อาศัย ขับถ่ายส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและอาจทำให้บุตรหลานได้รับอันตรายจากสุนัขกัด ซึ่งจะนำสู่โรคพิษสุนัขบ้า
• ไม่ควรนำกระถางต้นไม้หรือสิ่งของตั้งวางบริเวณ ถนนทางเท้า พื้นที่ส่วนกลางต่างๆ เพราะจะทำให้กีดขวางการสัญจรไปมา ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
• ไม่ใช้พื้นที่ส่วนกลางเป็นประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ ถนนทางเท้า สวน สนามเด็กเล่น หรือพื้นที่ว่างภายในโครงการนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่น การบุกรุกทำการค้าขาย และการปลูกสร้างโรงเรือน และอื่นๆ โดยมิได้รับอนุญาตจากการเคหะแห่งชาติโดยเด็ดขาด
• การใช้เสียง เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ การเลี้ยงสังสรรค์ และอื่นๆ ควรมีระดับเสียงอยู่ในขอบเขตอันสมควร หากระดับเสียงเกินความพอดีจะทำให้รบกวนผู้อื่นได้
• การทิ้งขยะ ควรจัดหาที่รองรับขยะ และควรแยกขยะก่อนนำออกทิ้งทุกครั้ง วางไว้บริเวณที่การเคหะแห่งชาติจัดให้
• ท่านและบุคคลในครอบครัวต้องไม่เป็นผู้ค้ายาเสพติดและต้องไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด
• การย้ายเข้าอยู่อาศัยและการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารควรแจ้งให้สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ทราบก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะได้อำนวยความสะดวกให้ท่าน
• ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ฯลฯ เข้าไปเลี้ยงไว้ในห้องชุด สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ ส่งเสียงดังรบกวนการอยู่อาศัย ขับถ่ายส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและอาจทำให้บุตรหลานได้รับอันตรายจากสุนัขกัด ซึ่งจะนำสู่โรคพิษสุนัขบ้า
• ไม่ควรนำกระถางต้นไม้หรือสิ่งของตั้งวางบริเวณ ถนนทางเท้า พื้นที่ส่วนกลางต่างๆ เพราะจะทำให้กีดขวางการสัญจรไปมา ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
• ไม่ใช้พื้นที่ส่วนกลางเป็นประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ ถนนทางเท้า สวน สนามเด็กเล่น หรือพื้นที่ว่างภายในโครงการนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่น การบุกรุกทำการค้าขาย และการปลูกสร้างโรงเรือน และอื่นๆ โดยมิได้รับอนุญาตจากการเคหะแห่งชาติโดยเด็ดขาด
• การใช้เสียง เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ การเลี้ยงสังสรรค์ และอื่นๆ ควรมีระดับเสียงอยู่ในขอบเขตอันสมควร หากระดับเสียงเกินความพอดีจะทำให้รบกวนผู้อื่นได้
• การทิ้งขยะ ควรจัดหาที่รองรับขยะ และควรแยกขยะก่อนนำออกทิ้งทุกครั้ง วางไว้บริเวณที่การเคหะแห่งชาติจัดให้
• ท่านและบุคคลในครอบครัวต้องไม่เป็นผู้ค้ายาเสพติดและต้องไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด
• การย้ายเข้าอยู่อาศัยและการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารควรแจ้งให้สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ทราบก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะได้อำนวยความสะดวกให้ท่าน
นำหนังสือจากสถาบันการศึกษาเพื่อขอฝึกงานที่การเคหะแห่งชาติ โดยทำหนังสือถึงผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล การเคหะแห่งชาติ เลขที่ 905 ถ.นวมินทร์ ซอย 10 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ ถึงผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ เลขที่ 905 ถ.นวมินทร์ ซอย 10 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีเงินได้ฯ เมื่อครบค้ำประกัน 5 ปี แล้วโอนจดจำนองกับธนาคารสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
ลูกค้าสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้ดังนี้
• เลขที่ 905 ถ.นวมินทร์ ซอย 10 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
• ทางโทรศัพท์ 0-2351-7714 , 0 -2351-6881 โทรสาร 0-2351-7632 หรืองาน Call Center 1615
• ทางอินเตอร์เน็ต / Social เว็บไซต์ www.nha.co.th, Facebook การเคหะแห่งชาติ
• ผ่านฝ่าย/ศูนย์ ของการเคหะแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
• เลขที่ 905 ถ.นวมินทร์ ซอย 10 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
• ทางโทรศัพท์ 0-2351-7714 , 0 -2351-6881 โทรสาร 0-2351-7632 หรืองาน Call Center 1615
• ทางอินเตอร์เน็ต / Social เว็บไซต์ www.nha.co.th, Facebook การเคหะแห่งชาติ
• ผ่านฝ่าย/ศูนย์ ของการเคหะแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง